สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เดินหน้าปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ “กองทุนเงินทดแทน” ประจำปี 2568 เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตายจากการทำงาน โดยมีการขยายวงเงินค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าทดแทนรายได้ และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สร้างหลักประกันที่มั่นคงให้แรงงานไทยทั่วประเทศ
📌 สิทธิที่ลูกจ้างควรรู้ มีดังนี้:
- ค่ารักษาพยาบาล
- เบิกจ่ายตามจริงได้สูงสุด 65,000 บาท ต่อกรณี (จากเดิม 50,000 บาท)
- หากเป็นกรณี “อาการรุนแรงหรือเรื้อรัง” นายจ้างสามารถเบิกเพิ่มได้อีกไม่เกิน 100,000 บาท
- รวมวงเงินสูงสุด ไม่เกิน 165,000 บาท ต่อครั้ง
- เบิกจ่ายตามจริงได้สูงสุด 65,000 บาท ต่อกรณี (จากเดิม 50,000 บาท)
- ค่าทดแทนรายได้ระหว่างรักษาตัว
- จ่าย 70% ของค่าจ้างรายเดือน
- วงเงินสูงสุด 14,000 บาทต่อเดือน (ค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท)
- จ่าย 70% ของค่าจ้างรายเดือน
- ค่าทำศพกรณีเสียชีวิต
- เบิกได้ 50,000 บาท แก่ผู้จัดการศพ
- เบิกได้ 50,000 บาท แก่ผู้จัดการศพ
- ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน
- ค่ารักษาและฟื้นฟูร่างกายผ่านเวชศาสตร์ฟื้นฟูไม่เกิน 24,000 บาท
- ค่าฟื้นฟูภายใต้การผ่าตัดหรือการบำบัดร่างกายไม่เกิน 40,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น แขน-ขาเทียม, รถเข็น ไม่เกิน 160,000 บาท
- ค่าฟื้นฟูเพื่อกลับไปทำงานหรือฝึกอาชีพใหม่ ไม่เกิน 24,000 บาท
- ค่ารักษาและฟื้นฟูร่างกายผ่านเวชศาสตร์ฟื้นฟูไม่เกิน 24,000 บาท
ทั้งนี้ กองทุนเงินทดแทนจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 โดยนายจ้างเป็นผู้ส่งเงินสมทบให้ลูกจ้าง หากลูกจ้างประสบเหตุจากการทำงาน ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง
📞 ลูกจ้างสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันสังคม 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง) หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.sso.go.th